วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม

ความหมายของคุณธรรมจริยธรรม
คำว่าคุณธรรมจริยธรรมนี้ เป็นคำที่คนส่วนใหญ่จะกล่าวควบคู่กันเสมอ จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า คำทั้งสองคำมีความหมายอย่างเดียวกันหรือมีความหมายเหมือนกัน แท้ที่จริงแล้วคำว่า คุณธรรมกับคำว่าจริยธรรมเป็นคำแยกออกได้ 2 คำ และมีความหมายแตกต่างกันคำว่า คุณแปลว่า ความดี เป็นคำที่มีความหมายเป็นทางนามธรรม ส่วนคำว่า จริยแปลว่า ความประพฤติกริยาที่ควรประพฤติเป็นคำที่มีความหมายทางรูปธรรม ดังนั้น จึงควรที่ผู้บริหารจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำสองคำนี้ให้ถ่องแท้ก่อน 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2538 : 189) ให้ความหมายว่าคุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี
 
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ยุตโต ) (2540: 14) ได้กล่าวว่าคุณธรรมเป็น ภาพของจิตใจกล่าวคือคุณสมบัติที่เสริมสร้างจิตใจให้ดีงาม ให้เป็นจิตใจที่สูง ประณีตและประเสริฐ เช่น
 
เมตตา คือ ความรักปรารถนาดี เป็นมิตร อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
 
กรุณา คือ ความสงสารอยากช่วยเหลือผู้อื่นมีความสุข
 
มุทิตา คือ ความพลอยยินดีพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่ประสบความสำเร็จให้มีความสุขหรือก้าวหน้าในการทำสิ่งที่ดีงาม
 
อุเบกขา คือ การวางตัววางใจเป็นกลาง เพื่อรักษาธรรมเมื่อผู้อื่นควรจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาตามเหตุและผล
 
จาคะ คือ ความมีน้ำใจเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว
 
วศิน อินทสระ (2541: 106,113) กล่าวตามหลักจริยศาสตร์ว่า คุณธรรม คือ อุปนิสัยอันดีงามซึ่งสั่งสมอยู่ในดวงจิต อุปนิสัยอันนี้ได้มาจากความพยายามและความประพฤติติดต่อกันมาเป็นเวลานาน... คุณธรรมสัมพันธ์กับหน้าที่อย่างมาก เพราะการทำหน้าที่จนเป็นนิสัย จะกลายเปํนอุปนิสัยอันดีงามที่สั่งสมในดวงจิตเป็นบารมี มีลักษณะอย่างเดียวกันนี้ ถ้าเป็นฝ่ายชั่ว เรียกว่า อาสวะคือ กิเลสที่หมักหมมในดวงจิต ย้อมจิตให้เศร้าหมองเกรอะกรังด้วยความชั่วนานาประการกลายเป็นสันดานชั่ว ทำให้แก้ไขยากสอนยาก กล่าวโดยสรุป คุณธรรมคือความล้ำเลิศแห่งอุปนิสัยซึ่งเป็นผลของการการะทำหน้าที่จนกลายเป็นนิสัยนั่นเอง
 
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 15-16) กล่าวว่า คุณธรรมคือคุณสมบัติที่ดีของจิตใจ ถ้าปลูกฝังเรื่องคุณธรรมได้จะเป็นพื้นฐานจรรยาบรรณ... จรรยาบรรณนี้เป็นเรื่องพฤติกรรมในการที่จะพัฒนาต้องตีความออกไปว่า พฤติกรรมเหล่านี้มีพื้นฐานจากคุณธรรมข้อใด เช่น เบญจศีลเป็นจริยธรรม เบญจธรรมเป็นคุณธรรมคือ ความเมตตากรุณา ถ้ามีความเมตตากรุณาจะมีฐานของศีลข้อที่ 1 เป็นต้น ส่วนจริยธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2538 : 216 ) ให้ความหมายว่า จริยธรรมหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
 

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2535: 81-82) กล่าวว่าจริยธรรม คือ หลักแห่งความประพฤติ หรือแนวทางการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการปฏิบัติ หมายถึง แนวทางของการประพฤติปฏิบัติจนให้เป็นคนดีเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวม
 

นอกจากนี้พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต) (2538: 2) ยังให้แนวคิดว่าจริยธรรมคือหลักแห่งความประพฤติดีงามสำหรับทุกคนในสังคม ถ้าเป็นข้อปฏิบัติทั่วไป เรียกว่าจริยธรรม ถ้าเป็นข้อควรประพฤติที่มีสาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ศีลธรรม แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า จริยาธรรมอิงอยู่กับหลักคำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นยังหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี แม้นักปราชญ์คนสำคัญ เช่น อริสโตเติล คานท์ มหาตมะคานธี ก็มีส่วนสร้างจริยธรรมสำหรับเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตของคนจำนวนหนึ่ง
 

จากทัศนะของพระเมธีธรรมภรณ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าจริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่มีความหมายกว้างกว่าศีลธรรม ศีลธรรมเป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยความประพฤติชอบ ส่วนจริยธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี ท่านผู้นี้มองจริยธรรมในฐานะที่เป็นระบบ อันมีศีลธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่ก็มีแนวคิดปรัชญา ค่านิยม ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีเข้ามาเกียวข้องด้วยจากที่กล่าวมาทั้งหมดพอสรุปได้ว่า คำว่า คุณธรรม จริยธรรม สองคำนี้เป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันในด้านคุณงามความดี กล่าวคือ จริยธรรมคือความประพฤติที่ถูกต้องดีงามทั้งกายและวาจา สมควรที่บุคคลจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ตนเองและคนในสังคมรอบข้างมีความสุข สงบ เยือกเย็น จริยธรรมเป็นเรื่องของการฝึกนิสัยที่ดี โดยกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ผู้มีความประพฤติดีงามอย่างแท้จริงจะต้องเป็นผู้มีความรู้สึกในด้านดีอยู่ตลอดเวลา คือ มี คุณธรรม อยู๋ในจิตใจหรืออาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมเป็นเรื่องของการประพฤติปฏิบัติเป็นพฤติกรรมภายนอก ส่วนคุณธรรมเป็นสภาพคุณงามความดีภายในจิตใจ ซึ่งทั้งสองส่วนต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาทั้งทางกายและวาจานั้น ย่อมเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์และเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจและสติปัญญา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลจึงต้องพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ควบคู่กันไป คือ การพัฒนาด้านสติปัญญา ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรม
 

ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม 

คุณธรรมจริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ดังจะพบเห็นได้จากการเกิดวิกฤติศรัทธาในวิชาชีพหลายแขนงในปัจจุบัน ทั้งวงการวิชาชีพครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร นักการเมืองการปกครอง ฯลฯ จึงมีคำกล่าวว่าเราไม่สามารถสร้างครูดีบนพื้นฐานของคนไม่ดี และไม่สามารถสร้างแพทย์ ตำรวจ ทหารและนักการเมืองที่ดี ถ้าบุคคลเหล่านั้นมีพื้นฐานทางนิสัยและความประพฤติที่ไม่ดี ดังพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริ-ยาธิราช ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ. ศ.2525 ไว้ ดังนี้
 

“.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว เป็นเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสวัสดี คือ ปลอดภัย บรรลุจุดประสงค์..
 

จริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีจริยธรรม จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไมก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลมีคุณค่ามีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองต่อไป
 

วศิน อินทสระ (2541 : 6-9) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของจริยธรรมดังจะกล่าวโดยย่อดังนี้
 

1. จริยธรรมเป็นรากฐานอันสำคัญแห่งความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคงและความสงบสุขของปัจเจกชน สังคมและประเทศชาติอย่างยิ่ง รัฐควรส่งเสริมประชาชนให้มีจริยธรรมเป็นอันดับแรก เพื่อให้เป็นแกนกลางของการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา การเมืองการปกครอง ฯลฯ การพัฒนาที่ขาดจริยธรรมเป็นหลักยึดย่อมเกิดผลร้ายมากกว่าดี เพราะผู้มีความรู้แต่ขาดคุณธรรม ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้ด้อยความรู้ โดยท่านกล่าวว่า ผู้มีความรู้แต่ไม่รู้วิธีที่จะประพฤติตน ย่อมก่อให้เกิดความเสื่อมเสียได้มากกว่าผู้มีความรู้น้อย ถ้าเปรียบความรู้เหมือนดิน จริยธรรมย่อมเป็นเหมือนน้ำ ดินที่ไม่มีน้ำยึดเหนี่ยวเกาะกุมย่อมเป็นฝุ่นละอองให้ความรำคาญมากกว่าให้ประโยชน์ คนที่มีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรมจึงมักเป็นคนที่ก่อความรำคาญหรือเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นอยู่เนืองๆ
 

2. การพัฒนาบ้านเมือง ต้องพัฒนาจิตใจคนก่อน หรืออย่างน้อยก็ให้พร้อมๆไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาวิชาการอื่นๆ เพราะการพัฒนาที่ไม่มีจริยธรรมเป็นแกนนำนั้นจะสูญเปล่าและเกิดผลเสียเป็นอันมากทำให้บุคคลลุ่มหลงในวัตถุและอบายมุข การที่เศรษฐกิจต้องเสื่อมโทรม ประชาชนทุกข์ยาก เพราะคนในสังคมละเลยจริยธรรม กอบโกยทรัพย์สินเป็นประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไปขาดความเมตตาปราณี แล้งน้ำใจในการดำเนินชีวิตซึ่งกันและกัน
 

3. จริยธรรม มิได้หมายถึง การถือศีล กินเพล เข้าวัดฟังธรรม จำศีลภาวนา โดยไม่ช่วยเหลือทำประโยชน์ให้แก่สังคม แต่จริยธรรมหมายถึงความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องเหมาะสมการทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เว้นสิ่งควรเว้น ทำสิ่งควรทำ ด้วยความฉลาดรอบคอบ รู้เหตุรู้ผลถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคล ดังนั้นจะเห็นว่าจริยธรรมจึงจำเป็นและมีคุณค่าสำหรับทุกคนในทุกวิชาชีพทุกสังคม สังคมจะอยู่รอดด้วยจริยธรรม
 

4.การทุจริต คดโกง การเบียดเบียนกันในรูปแบบต่างๆอันเป็นเหตุให้สังคมเสื่อมโทรม มีสาเหตุมาจากการขาดจริยธรรมของคนในสังคม ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้น่าจะพอเลี้ยงชาวโลกไปได้อีกนาน ถ้าชาวโลกช่วยกันละทิ้งความละโมบโลภมาก แล้วมามีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ช่วยกันสร้างสรรค์สังคม ยึดเอาจริยธรรมเป็นทางดำเนินชีวิต ไม่ใช่ยึดเอาลาภยศความมีหน้ามีตาในสังคมเป็นจุดหมาย ถ้าสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นก็ถือเป็นเพียงผลพลอยได้และนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการประพฤติธรรม เช่น อาศัยลาภผลเป็นเครื่องมือในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อาศัยยศและความมีหน้ามีเกียรติในสังคมเป็นเครื่องมือในการจูงใจคนผู้เคารพนับถือเข้าหาธรรม
 

5. จริยธรรมสอนให้เราเลิกดูหมิ่นกดขี่คนจน ให้เอาใจใส่ดูแลเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นบุพการีของชาติ สอนให้เราถ่อมตัวเพื่อเข้าหากันได้ดีกับคนทั้งหลาย และไม่วางโตโอหังอวดดีหรือก้าวร้าวผู้อื่น สอนให้เราลดทิฏฐิมานะลงให้มากๆเพื่อจะได้มองเห็นสิ่งต่างๆตามความจริง ไม่หลงสำคัญตัวว่ารู้ดีกว่า มีความสามารถกว่าใคร ผู้นำที่มีจริยธรรมสูงย่อมเป็นที่เคารพกราบไหว้ของทั้งหลายได้อย่างสนิทใจ เราควรเลือกผู้นำที่สามารถนำความสงบสุขทางใจมาสู่มวลชนได้ด้วย เพื่อสันติสุขจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ความแข็งแกร่งทางกำลังกายกำลังทรัพย์และอาวุธนั้น ถ้าปราศจากความแข็งแกร่งทางจริยธรรมเสียแล้ว บุคคลหรือประเทศชาติจะมั่นคงอยู่ได้ไม่นาน สังคมที่เจริญมั่นคงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องรับรอบหรือเป็นแกนกลาง เหมือนถนนที่มั่นคงหรือตึกที่แข็งแรง เขาใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแม้เหล็กจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็นภายนอก แต่มีความสำคัญอยู่ภายในนายช่างย่อมรู้ดี ทำนองเดียวกันกับบัณฑิตย่อมมองเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่าจริยธรรมมีความสำคัญในสังคมเพียงใด
 

จากข้อความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าคุณธรรมจริยธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคน ปัญหาของสังคมไทยที่ประสบพบเห็นอยู่ทุกวันนี้เกิดจาก คนปัญหาเริ่มต้นที่ คนและมีผลกระทบถึง คน การแก้ปัญหาสังคมไทยจึงต้องแก้ด้วย การพัฒนาคนเพื่อให้คนมีปัญญา มีความรู้มีคุณธรรมและมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าเราจะพัฒนาคนอย่างไรเพื่อให้คนมีชีวิตที่ดีงามสามารถใช้ความรู้และแก้ปัญหาได้ สร้างสรรค์ได้ ปฏิบัติต่อเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง อยู่ในระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจได้ บริโภคผลผลิตด้วยปัญญา รู้อะไรดี อะไรชั่ว มีทัศนคติทางจริยธรรมที่เหมาะสม ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของคนที่มีคุณธรรม การจัดการศึกษาคงต้องยึดหลักสำคัญคือ ให้ความรู้คู่คุณธรรม สังคมไทยจึงจะมีสมาชิกของสังคมที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดี ดังคำกลอนของอำไพ สุจริตกุล (2534 : 186) กล่าวไว้ดังนี้
 

เมื่อความรู้ยอดเยี่ยมสูงเทียมเมฆ
 
แต่คุณธรรมต่ำเฉกยอดหญ้านั่น
 
อาจเสกสร้างมิจฉาสารพัน
 
ด้วยจิตอันไร้อายในโลกา
 
แม้คุณธรรมเยี่ยมถึงเทียมเมฆ
 
แต่ความรู้ต่ำเฉกเพียงยอดหญ้า
 
ย่อมเป็นเหยื่อทรชนจนระอา
 
ด้วยปัญญาอ่อนด้อยน่าน้อยใจ
 
หากความรู้สูงล้ำคุณธรรมเลิศ
 
แสนประเสริฐกอปริกิจวินิจฉัย
 
จะพัฒนาประชาราษฎร์ทั้งชาติไทย
 
ต้องฝึกให้ความรู้คู่คุณธรรม
อำไพ สุจริตกุล (2534: 186)
คุณธรรมพื้นฐานของผู้นำ 

“....ในฐานที่เป็นครูอาจารย์ หัวหน้างาน
 
จำเป็นต้องมีความสุจริต ยุติธรรม
 
ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง เป็นที่พึ่ง
 
ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
 
ไม่ยอมแพ้พ่ายต่อความโลภ
 
ความลืมตัว ความริษยา ความแตกร้าว
 
ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันรุ่งเรืองไพศาล
 
ของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย
 
จึงจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ
 
และมีชื่อเสียงเกียรติคุณทุกประการ
 
ดังที่ปรารถนา.........
 

พระบรมราโชวาท
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
 

คุณธรรมพื้นฐานของผู้นำ
 

“... ในฐานะที่เป็นครูอาจารย์ หัวหน้างาน
 
จำเป็นต้องมีความสุจริต ยุติธรรม
 
ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง เป็นที่พึ่ง
 
ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
 
ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อความโลภ
 
ความลืมตัว ความริษยา ความแตกร้าว
 
ต้องมุ่งมั่นในประโยชน์อันรุ่งเรืองไพศาล
 
ของส่วนรวมเป็นเป้าหมาย
 
จึงจะได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จ
 
และมีชื่อเสียงเกียรติคุณทุกประการ
 
ดังที่ปรารถนา……”
 

พระบรมราโชวาท
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช





ที่มา



สรุปเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
       คำว่าคุณธรรมจริยธรรมคือการที่ซื่อสัตย์กับตัวเอง มีความรับผิดชอบกับการงานที่ได้รับ คุณ  มาจากคำว่า ความดี  จริย มาจาก ความประพฤติกริยาที่ควรประพฤติเป็นคำที่มีความหมายทางรูปธรรม 


วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

รักให้รู้ :)~ ต้องเสียน้ำตาต้องช้ำปางตายก็ยอมให้รู้ไป


รายงาน 5 หน้า

ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ

 ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ   คือ คุณลักษณะพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องมี เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ และพัฒนาสังคมให้มีความเจริญงอกงาม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยคุณลักษณะเหล่านี้จะต้องฝึกฝนเป็นประจำทุกวันจนเป็นนิสัย ผ่านห้องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน 5 ห้อง คือ (1) ห้องนอน (2) ห้องน้ำ (3) ห้องแต่งตัว (4) ห้องอาหาร (5) ห้องทำงานหรือห้องเรียน


M5 (Global Merit 5) หรือ ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการมีอะไรบ้างความดีพื้นฐาน
สากล 5 ประการ ( Global Merit 5 )
1.  ความสะอาด
              2.  ความเป็นระเบียบ
              3.  ความสุภาพนุ่มนวล
             4.  ตรงต่อเวลา
             5.  จิตตั้งมั่น และผ่องใส
    1. ความสะอาด   หมายถึง   ปราศจากสิ่งแปลกปลอม  อันจะทำให้เสียคุณภาพ

     2. ความเป็นระเบียบ  หมายถึง  เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ถูกลำดับ  เป็นแถว  เป็นแนว ไม่ขัดขวาง  ไม่สับสน
     3. ความสุภาพ   หมายถึง   ความสามารถในการควบคุมกิริยาทางกาย   วาจาให้เป็นปกติ ไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความรู้สึกในทางไม่ดี
     4. ความตรงต่อเวลา   หมายถึง   ความสามารถในการควบคุมตนเอง ในการ เริ่ม  ทำ   เลิกงานให้เป็นไปตามที่กำหนด
     5. การมีสมาธิ (Meditation)   หมายถึง   ความสามารถในการควบคุมจิตใจ  อารมณ์ให้ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง  เพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ผ่องใสขึ้นจากภายใน
ความสะอาด
ความสะอาดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุดของการมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง เพราะความสะอาดเป็นเครื่องช่วยป้องกันโรคระบาดและโรคร้ายแรงต่างๆ อิสลามได้แนะนำหลักการและบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมความสะอาด อัลลอฮ์(ซ.บ.) ทรงยกย่องและรวมเอาความสะอาดเข้าเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของความดีงาม พระองค์ทรงตรัสว่า "แท้จริง อัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้กลับตัว และรักบรรดาผู้ชำระตัวเองให้สะอาด"
"ความสะอาดบริสุทธิ์เป็นครึ่งหนึ่งของความศรัทธา
ความสะอาดตามความหมายของอิสลามประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
การละเลยต่อเรื่องเหล่านี้อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ ได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะตามหลักการของอิสลามแล้วการละเลยต่อความสะอาดจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคถือว่าเป็นบาปอัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า"และจงอย่าให้ตัวของพวกเจ้าตกอยู่ในอันตราย"อิสลามรังเกียจความสกปรกและได้เตือนในเรื่องนี้ ท่านศาสดา(ศ.) กล่าวว่า "บ่าวของอัลลอฮ์ทรงสกปรกนั้นช่างชั่วร้ายนัก!" ความสกปรกบางประเภทได้แก่ ความสกปรกทางร่างกาย, ความสกปรกของเสื้อผ้า, ความสกปรกของเหย้าเรือน, การนั่งในที่สกปรก การถ่มน้ำลายในที่สาธารณะและในมัสญิด

ความมีระเบียบ
          ระเบียบวินัยเป็นเรื่องที่สังคมโลกในยุคปัจจุบันนี้ต้องการให้ทุกคนระลึกถึงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าใครผู้นั้นจะเป็นเด็กหรือว่าผู้ใหญ่ เพราะในโลกที่คำว่า อิสระเสรีมีค่ามากกว่าสิ่งใด ๆ บนโลก คำว่า ระเบียบวินัยคือสิ่งเดียวที่ช่วยค้ำจุนและฉุดดึงโลกใบนี้ไว้ ให้สามารถเดินไปในแนวทางอย่างที่ควรจะเป็นได้ สิ่งนี้คือเหตุผลที่ทำไมทุกคนต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของระเบียบวินัย มากกว่าการเข้าใจว่า สิ่งนี้คือการบังคับอย่างไม่ยุติธรรม
ในสังคมโลกทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ซึ่งสิ่งที่เรียกว่ากฎหมายนี้ แม้จะเป็นเพียงคำกล่าวหรือสิ่งที่จารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้ายืนยันแล้วว่าเป็นมติที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับ ก็หมายความว่าทุกคนในสังคมหรือผู้ที่เกี่ยวเนื่องในสังคมต้องยอมรับ สิ่งนี้คือระเบียบวินัยที่ทุกคนในสังคมนั้น ๆ ต้องยึดถือ สังคมมีกฎระเบียบของสังคม หน่วยงานมีกฎระเบียบของหน่วยงาน ครอบครัวก็มีกฎระเบียบของครอบครัว หรือแม้แต่ตัวเราเองก็ต้องมีกฎระเบียบเพื่อให้เราสามารถดำรงชีวิตรอดได้นั่นเอง
ความสุภาพ
ความสุภาพเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่เราคนไทยควรยึดถือเป็นเครื่องมือปฏิบัติในสังคม ความสุภาพย่อมหมายถึง กิริยามารยาท การพูดจาทักทาย ที่ผู้ปฏิบัติได้แสดงออกมาให้เห็นถึงคุณลักษณะภายในอันดีงาม ได้แก่การอ่อนน้อมถ่อมตน การพุดคุยด้วยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่มีคำหยาบคายเจือปน การรู้จักเสียสละ การให้อภัยผู้อื่นการรู้จักกล่าวขอโทษเมื่อกระทำผิด หรือการขอร้องให้ผู้อื่นกระทำตาม ย่อมเป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นทั่วทุกชนชั้นดังนั้นไม่ชาติใดชนใดก็ตาม ถ้าได้ปฏิบัติตนอยู่ในความสุภาพ สังคมย่อมมีความสงบสุขร่มเย็น น่าอยู่น่าอาศัย ประเทศชาติก็จะมีแต่ความเจริญก้าวหน้าเทียบเท่าอารยประเทศอย่างแท้จริง
ความตรงต่อเวลา
การพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลานั้นเราสามารถทำได้โดยการที่เรารู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรมต่างๆ เป็นการจัดระเบียบให้กับชีวิต สำหรับในการทำงานหรือการเรียนก็คือการพยายามทำงานหรือส่งงานให้เสร็จก่อนเวลาเพื่อมีเวลาตรวจทานและส่งงานให้ตรงตามกำหนด รวมถึงหากนัดหมายกับผู้ใดควรที่จะเผื่อเวลาในการเดินทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมายก่อนเวลาสักเล็กน้อย เพื่อจะได้ไม่ต้องเร่งรีบรวมถึงมีเวลาเตรียมความพร้อมให้กับตนเองการที่เราเป็นคนตรงต่อเวลานั้น จะช่วยให้เราเป็นคนที่ขยันขันแข็ง เอาการเอางาน มีความกระตือรือร้น รักที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ ช่วยให้เราไม่เฉื่อยชา ทันสมัย มีชีวิตชีวา เป็นคนมีวินัย สามารถจัดการกับงานหรือสิ่งที่ผ่านเข้ามาได้อย่างเป็นระเบียบ จึงทำให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้าในชีวิต รวมถึงเป็นคนน่าเชื่อถือ และผู้อื่นให้ความไว้วางใจแก่เรา
ความมีสมาธิ
คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน
การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้      
การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง
รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน
ความดีพื้นฐานสากล 5 ประการ หากเราฝึกอยู่เป็นประจำจะทำให้เรามีพื้นฐานเบื้องต้น ที่จะพัฒนาตนเองนำไปสู่การเป็นผู้ที่ยึดมั่นในพระรัตนตรัย ทำให้เรามีจิตใจที่ผ่องใส และจะทำให้เรามีนิสัยบัณฑิตที่มีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีต่อไปความดีและ คนดีก็เป็นคำที่ถูกยิบยกมาพูดถึงเสมอใน ภาวการณ์ ปัจจุบันผ่านการนำเสนอของสื่อมวลชน โดยเฉพาะเมื่อคำว่า 'ความดี' หรือ “คุณธรรม” “จริยธรรมเข้าไปสู่ปริมณฑลของการเมือง มันกลายเป็นคำอธิบายที่ทั้งมีพลังขณะเดียวกันก็มีปัญหามากที่สุดคำหนึ่ง
ข้อคิดเรื่องความดี
ความดีเป็นสิ่งที่ควรทำและเหมาะสมทางจิตใจ เมื่อเราทำไปแล้วต้องก่อให้เกิดผลดีต่อคนในสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ เมื่อได้ทำก็จะทำให้จิตใจเราสบายใจที่ได้ช่วยเหลือสังคม
การทำความดียกตัวอย่างการรายงานข่าวเกี่ยวกับการเกิดสิ่งผิดปกติ เป็นการสำนึกในจิตใจว่าเราต้องทำอะไรสักอย่างกับสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเยี่ยวยา เป็นการรายงานข่าวที่เป็นประโยชน์และต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งรายงานที่เราทำไม่ได้หวังว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือเปล่า เพียงแค่ขอให้ผู้คนทั่วไปหรือผู้บริหารได้รับรู้ การรายงานถือได้ว่าช่วยทำความดีได้อีกทาง และการทำความดีทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะคิดดี ทำดี พูดดี

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

ของขวัญวันปีใหม่

หากนักเรียนจะไห้ของขวัญวันปีใหม่เพื่อนนักเรียนจะใช้โปรแกรมใดเหตุผลทำไมถึงเลือกใช้โปรแกรมนั้น
ตอบ = photoscape 
เหตุผล = คือโปรแกรมนี้สามารถแต่งรูปภาพตัดต่อและสามารถใช้เขียนหรือเพิ่มตกแต่งตัวอักษรเข้าไปได้ตามที่เราเลือกใช้หรือตามที่เราจะแต่งหรือตามที่เราออกแบบไว้แล้วแล้วโปรแกรมที่เราเลือกนั้นเป็นโปรแกรมที่สามารถทำได้ไม่อยากและตามความถนัดของเราเองแล้วอีกอย่างมันก็มีคำอธิบายตามที่เราจะสามารถจะเล่นโปรแกรมนี้ได้โดยไม่ยากเกินตัวเราเอง และสามารถแต่งรูปใบหน้าและตัดต่อรูปที่เราเลือกที่จะแต่งแบบกระทัดรัดและมีรูปหรือลักษณะแบบตัวอักษรรูปภาพต่างๆในโปรแกรมโดยที่เราไม่ต้องออกแบบมันสามารถเลือกใช้ได้เรยและเลือกรูปแบบได้สวยตามใจที่เราชอบ

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                เทคโนโลยี คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด





                   สารสนเทศ (Information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับคว
หมายของการสื่อสาร  


 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หมายถึง เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถสร้างระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และมีความสลับซับซ้อนได้ และก่อนที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง จำเป็นต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบพื้นฐานและหน้าที่หลักของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลเสียก่อ
 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการโดยจะรวมถึง
                1.เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน
                2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป 








ประวัติส่วนตัว







ประวัติส่วนตัวของฉัน

นางสาวอาทิตยา คำจำรูญ ชั้น ม.6/10  เลขที่ 24 
ชื่อเล่น อ้าย 
เกิดวันที่ 23 กรกฎาคม 2538'
สัญชาติไทย ศาสนา พุทธ
เลขบัตรประจำตัวประชาชน 1639900227151
บ้านเลขที่ 30/1 หมู่ 5 ตำบล วังหิน อำเภอ เมือง จังหวัด ตาก 
บิดาชื่อ นายสุนันท์ คำจำรูญ
มารดาชื่อ นางปราณี คำจำรูญ
เบอร์ติดต่อ 0932127518